วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2552

เล่าเรื่องเมืองลาว


ประเทศลาว “ Laos” หรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นประเทศเล็กๆ มีประชากรประมาณ 7 ล้านคน มีอยู่ 3 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ มี 16 จังหวัด มีเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงอยู่ในภาคกลาง มีพื้นที่ 236,800 ตร.กม. เป็นประเทศไม่มีทางออกสู่ทะเล


คนลาวจะนับถือศาสนาพุทธประมาณ 75% และนับถือศาสนาคริสต์ อิสลาม และฮินดู มีวัดประมาณ 4,397 วัดลาวแท้ๆเป็นประเทศหนึ่งที่สืบเชื้อสายบรรพบุรุษเดียวกับไทย แต่ลาว-มีชนกลุ่มน้อยมากมายถึง 49 ชนเผ่า ชนเผ่าพวกนี้จะไม่นับถือพุทธ แต่จะนับถือผี ผู้ชายสามารถมีภรรยาได้ถึง 3 คน แต่จดทะเบียนได้เพียงคนเดียว ชาวเขาผู้ชายจะเลี้ยงลูก ผู้หญิงจะออกไปทำงาน …ลาวแท้ๆมีเพียง 50 % ภาษาลาวมีลักษณะใกล้เคียงภาษาไทยในภาคอีสาน และสามารถใช้ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศษได้ดี สำหรับลาวทางตอนเหนือพูดคล้ายภาษาพื้นเมืองทางภาคเหนือของไทย

ภูมิศาสตร์ ที่ตั้ง

สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ประเทศลาว ตั้งอยู่ในตอนกลางของอินโดจีนระหว่างระติจูต 14-23 องศา และระหว่างลองติจูต 100-108 องศา เป็นประเทศ ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และล้อมรอบด้วยประเทศต่างๆต่อไปนี้ ทิศเหนือ ลาว ติดกับ ประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีน ทิศใต้ ลาว ติดกับ ประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา ทิศตะวันออก ลาว ติดกับ ประเทศสาธารณรัฐ สังคมนิยมเวียดนาม ทิศตะวันตก ลาว ติดกับ ประเทศราชอาณาจักรไทย ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลาว ติดกับ ประเทศเมียนม่า ความยาวของ ประเทศลาว แต่เหนือถึงใต้ประมาณ 1,700 กิโลเมตร ภูมิประเทศ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ( ประเทศลาว ) มีพื้นที่
236,800 ตารางกิโลเมตร มากกว่าครึ่งหนึ่งของ ประเทศไทย ในรัชกาลของพระเจ้าฟ้างุ่มหาราชศตวรรษที่ 14 อาณาจักรล้านช้าง มีเนื้อที่ 480,000 ตารางกิโลเมตร ร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมดเป็นภูเขา และที่ราบสูง ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนเหนือของ ประเทศลาว ภู “ เบี้ย “ เป็นภูที่สูงที่สุดใน ลาว ซึ่งมีระดับความสูง 2,820 เมตร จากระดับน้ำทะเล แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศลาว จากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้เป็นความยาวประมาณ 1,900 กิโลเมตร และยังเป็นเขตแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศไทย ชายแดน ชายแดนของ ลาว ยาว 4,500 กิโลเมตร ช่วงที่ติด จาก ลาว กับ ประเทศไทย ยาวประมาณ 1,730 กิโลเมตร (ในนี้ระยะ ชายแดนลาว เป็นแม่น้ำโขงกว่า 30%) ช่วงที่ติด จาก ลาว กับ ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 1,957 กิโลเมตร ช่วงที่ติดจาก ลาว กับ ประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา 492 กิโลเมตร ช่วงที่ติดจาก ลาว กับ ประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีน 416 กิโลเมตร ช่วงที่ติดจาก ลาว กับ ประเทศพม่า 230 กิโลเมตร ช่วงที่ยาวที่สุดของ ประเทศลาว 1,000 กิโลเมตร ช่วงที่กว้างที่สุดของ ประเทศลาว 500 กิโลเมตร ช่วงที่แคบที่สุดของ ประเทศลาว 150 กิโลเมตร ประมุขของรัฐปัจจุบัน ฯพณฯ คำไต สีพันดอน ประธาน ประเทศลาว หัวหน้าคณะรัฐบาลปัจจุบัน ฯพณฯ บุญยัง วอระจิต นายกรัฐมนตรี ประเทศลาวรัฐธรรมนูญ ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 15 สิงหาคม 2534 นครหลวง เวียงจันทน์ เป็น นครหลวง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นใจกลางทางด้านการเมือง วัฒนะธรรม และเศรษฐกิจของ ประทศลาว มีประชากรประมาณ 400,000 คน ใน สมัยอาณาจักรล้านช้าง เวียงจันทน์ มีชื่อว่า จันทบุรีกรุงศรีสัตนาคนาหุต มี พระเจ้าไชยะเชษฐาธิราช สถาปนาให้เป็นนครหลวงแห่ง อาณาจักรล้านช้าง ในปี ค.ศ. 1563 (พ.ศ. 2106)


การแบ่งการปกครอง ประเทศลาว แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 แขวง (จังหวัด) และอีกหนึ่งเขตการปกครองพิเศษ คือ1. นครเวียงจันทน์ (กำแพงเวียงจันทน์) เป็นเขตการปกครองพิเศษคล้ายกรุงเทพฯ2. แขวงเวียงจันทน์ เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์3. แขวงหลวงพระบาง เมืองหลวงคือ หลวงพระบาง4. แขวงหลวงน้ำทา เมืองหลวงคือ หลวงน้ำทา5. แขวงอุดมไชย เมืองหลวงคือ เมืองไชยหรืออุดมไชย6. แขวงบ่อแก้ว เมืองหลวงคือ ห้วยทราย7. แขวงพงสาลี เมืองหลวงคือ พงสาลี8. แขวงหัวฝัน เมืองหลวงคือ ซำเหนือ9. แขวงเชียงขวาง เมืองหลวงคือ โพนสะหวัน10. แขวงไชยบุรี เมืองหลวงคือ เมืองไชยบุรี11. แขวงบริคำชัย เมืองหลวงคือ เมืองปากซัน12. แขวงคำม่วน เมืองหลวงคือ เมืองคำบ่วนหรือท่าแขก13. แขวงสะหวันนะเขต เมืองหลวงคือ เมืองสะหวันนะเขต14. แขวงสาละวัน เมืองหลวงคือ เมืองสาละวัน15. แขวงเซกอง เมืองหลวงคือ เมืองเซกอง16. แขวงจำปาศักดิ์ เมืองหลวงคือ เมืองปากเซ17. แขวงอัตปือ เมืองหลวงคือ อัตปือและเขตปกครองพิเศษ คือ ไชยสมบูรณ์


ศาสนา ประชาชนลาว มากกว่า 90 % นับถือ ศาสนาพุทธ รัฐบาลให้สิทธิเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา ตามประเพณีหนุ่มลาวที่มีอายุ 20 ปี จะเข้าบวชเป็นพระระยะหนึ่ง เพื่อตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ หรือ ญาติพี่น้องที่เสียชีวิต ในปัจจุบัน พระสงฆ์ลาวถือธรรมวินัยอย่างเคร่งคัด นอกจากการเผยแพร่พระธรรมแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นครูประชาศึกษา และแพทย์แผนโบราณ อุบาสกอุบาสิกาเป็นผู้ถวายปัจจัยทุกอย่าง มีการถวายจังหัน และเพลทุกๆ วัน บทบาทของ พระสงฆ์ลาว ในระบอบใหม่ได้รับการเชิดชูให้สูงเด่นขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ ประเพณี ตามจารีดประเพณีของ ลาว จะเรียกว่า ฮีดสิบสองครองสิบสี่ ฮีดยี่ครองเจียง ชาวลาว จะมีงานประเพณีมากมายตลอดปี เช่น เดือน 3 วันมาฆบูชา มีงานฉลองพระธาตุอิงฮังที่แขวงสะหวันนะเขต และงานวัดภูจำปาสัก เดือน 5 วันสงกรานต์ปีใหม่ลาว เดือน 6 วันวิสาขะบูช า เดือน 8 วันเข้าพรรษา เดือน 9 บุญเข้าประดับดิน เดือน 10 บุญเข้าฉลาก เดือน 11 ออกพรรษา งานแข่งเรือ ที่นครเวียงจันทน์ เดือน 12 บุญพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ นอกจากงาน ประเพณีทางพุทธศาสนา แล้ว ยังมีพิธีทางรัฐการอีก เช่น วันที่ 1 มกราคม วันปีใหม่สากล วันที่ 20 มกราคม วันสร้างตั้งกองทัพประชาชนลาว วันที่ 8 มีนาคม วันแม่หญิง ( วันสตรีสากล ) วันที่ 22 มีนาคม วันสร้างตั้งพรรคประชาชนปฏิวัติลาว วันที่ 1 พฤษภาคม วันกรรมกร (วันแรงงานสากล)
วันที่ 1 มิถุนายน วันเด็ก วันที่ 15 สิงหาคม วันรัฐธรรมนูญ วันที่ 7 ตุลาคม วันครูแห่งชาติ วันที่ 12 ตุลาคม วันประกาศเอกราช วันที่ 2 ธันวาคม วันชาติ ( วันสร้างตั้ง ส ป ป ลาว ) ภาษาประจำชาติ คือ ภาษาลาว มีลักษณะใกล้เคียงกับ ภาษาไทย ใน ภาคอีสานของไทย นอกจากนี้ คนลาว บางส่วนยังสามารถใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ดี สำหรับ ประชาชนชาวลาว ทางตอนเหนือของประเทศสำเนียงการพูดและความหมายของคำบางคำคล้ายกับภาษาพื้นเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และเลย ทางตอนเหนือของประเทศไทยประชากร จากการสำรวจจำนวน ประชากรลาว ในปีที่ผ่านมา (2544) ประเทศลาว จำนวนประชากรทั้งหมด 5.6 ล้านคน ประกอบด้วย 3 ชนชาติใหญ่รวม 68 เผ่า ได้แก่ - ลาวลุ่ม หมายถึง ชนเผ่า ลาว ที่อาศัยอยู่ตามที่ราบลุ่มใกล้แม่น้ำโขง คิดเป็นร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมด เช่น ไทลาว ไทเหนือ ไทแดง ไทขาว ผู้ไท ลาวพวน ไทลื้อ เป็นต้น - ลาวเทิง เป็นกลุ่มชนเผ่าที่อาศัยบนพื้นที่ที่มีความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร คิดเป็นประชากรร้อยละ 20 ของประเทศ เช่น สีดา บ่าแวะ ละแนด ฯลฯ - ลาวสูง เป็น ประชากร ส่วนน้อยอาศัยอยู่บนเทือกเขาสูง ส่วนใหญ่เป็น ชาวม้ง และ เผ่า อื่นๆ เช่น มูเซอ ก่อ กุย เป็นต้นสกุลเงิน ของประเทศลาว คือ กีบ สำหรับ เงินกีบ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายใน ประเทศลาว ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็นใบละ 1,000 2,000 5,000 10,000 20,000 กีบ (ไม่มีเงินในลักษณะเหรียญกษาปณ์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น