วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552

รัสเซีย

สหพันธรัฐรัสเซียRussian Federation
ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ รัสเซียมีพื้นที่ 17,075,400 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม ทั้งทวีปยุโรปและเอเชีย โดยมีเทือกเขาอูราล เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างทั้งสองทวีป ความยาวจากด้านตะวันออกจรดตะวันตก 9,000 กิโลเมตรและจากด้านเหนือจรดใต้ยา 4,000 กิโลเมตร
ประชากร 143.9 ล้านคน (มกราคม 2545)

เมืองสำคัญ เมืองหลวง : กรุงมอสโก มีประชากร 9 ล้านคน ส่วนเมืองใหญ่อื่น ๆ ได้แก่ - เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก มีประชากร 5 ล้านคน- โนโวสิเบียรสก์ มีประชากร 1.4 ล้านคน- นิชนีย์ โนฟโกรอด มีประชากร 1.3 ล้านคน- เยคาทารินเบิร์ก มีประชากร 1.3 ล้านคน
ศาสนา คริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ นับถือในกลุ่มชาวรัสเซียส่วนชนกลุ่มน้อยอื่นๆ มีทั้งที่นับถืออิสลาม และพุทธศาสนานิกายมหายาน
เชื้อชาติ ร้อยละ 81 เป็นชาวรัสเซีย ที่เหลือเป็นชนชาติอื่นเช่น ตาตาร์ ยูเครน เบลารุส เยอรมัน ยิว อาร์เมเนีย และคาซัค

ภาษา รัสเซีย
สกุลเงิน รูเบิล (rouble)1 USD = RUB 31.54317 ( ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2545)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 286.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ค.ศ. 2001)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 1,975 ดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2001)

วันชาติ 12 มิถุนายน
ประมุข ประธานาธิบดีนาย Vladimir Putin นายกรัฐมนตรีนาย Mikhail Kasyanovรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนาย Igor S. Ivanovการเมืองการปกครอง ค.ศ. 1917ในปี ค.ศ. 1917 (ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ค.ศ. 1914-1918) จักรวรรดิ รัสเซียถูกโค่นล้มลง โดยกลุ่มบอลเชวิกภายใต้การนำของเลนิน ได้เข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น Russian Soviet Federative Socialist Republic หรือสหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation) พร้อมกับให้คำมั่นสัญญาแก่รัฐต่าง ๆ ในจักรวรรดิรัสเซียเดิมในการให้สิทธิปกครองตนเอง แต่ผู้นำ สหพันธรัฐรัสเซียก็ไม่ได้รักษาคำมั่นสัญญาดังกล่าว และได้เข้ายึดครองรัฐต่าง ๆ ที่ขัดขวางด้วยกำลัง และไดัจัดตั้งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Union of Soviet Socialist Republic : USSR) หรือสหภาพโซเวียต (Soviet Union) ขึ้นในปี ค.ศ. 1922 โดยมีสาธารณรัฐรัสเซียเป็นแกนนำ

สหภาพโซเวียตตกอยู่ภายใต้การบริหารของพรรคคอมมิวนิสต์ โดยเน้นการบริหารและการวางแผนจากส่วนกลาง ซึ่งในช่วงของสตาลินได้มีการบังคับใช้แรงงานในค่ายกักกันอันเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตนับล้าน ๆ คน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และในช่วงของสงครามเย็นที่สหภาพโซเวียตพยายามแข่งขันกับสหรัฐอเมริกาในการที่จะเป็นผู้นำทางอุดมการณ์และอาวุธ ความล้มเหลวของระบอบคอมมิวนิสต์ในอันที่จะทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่สุขสบายอย่างเท่าเทียมกัน ก็ได้ปรากฏให้เห็นเด่นชัดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษที่ 80 ซึ่งส่งผลให้ประชาชนและกลุ่มแรงงานออกมาเรียกร้องและต่อต้านรัฐบาลมากขึ้นและรุนแรงขึ้น และแม้ว่านาย Mikail Gorbachev ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตจะพยายามกำหนดแผนการปรับปรุงต่าง ๆ แล้วก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งพลังเรียกร้องและต่อต้านของประชาชนได้อันทำให้สหภาพโซเวียตต้องล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1991

ค.ศ. 1991 สหภาพโซเวียตได้แตกออกเป็นรัฐอิสระ 15 รัฐ ซึ่งในเวลาต่อมาสหพันธรัฐรัสเซียและรัฐอิสระอีก 11 รัฐ (ยกเว้นรัฐบอลติก 3 รัฐ) ได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States : CIS)
ระบบการปกครองปัจจุบันรูปแบบ สหพันธรัฐ (Federation) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐรัสเซียซึ่งได้รับความเห็นชอบ โดยประชามติ (referendum) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1993 ได้สร้างระบบประธานาธิบดี โดยได้มอบอำนาจบริหารอย่างกว้างขวางให้แก่ประธานาธิบดี เช่น เป็นผู้นำกองทัพและคณะมนตรีความมั่นคง เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (ซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาดูมา :Duma) ข้าราชการระดับสูง ผู้ว่าการธนาคารชาติ และประธานศาลรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ประธานาธิบดีรัสเซียยังสามารถยุบสภาดูมา หากสภาดูมาไม่ให้ความเห็นชอบต่อการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีในครั้งที่ 3 หรือสภาดูมาได้ลงคะแนนเสียงไม่ไว้วางใจรัฐบาลติดต่อกัน 2 ครั้งในช่วงเวลา 3 เดือน ประธานาธิบดีจะอยู่ในตำแหน่งวาระ 4 ปี และโดยที่รัฐธรรมนูญรัสเซียไม่ได้กำหนดตำแหน่งรองประธานาธิบดี ในกรณีที่ประธานาธิบดีเสียชีวิตหรือไม่สามารถจะบริหารประเทศได้ นายกรัฐมนตรีจะรักษาการแทนและจะต้องจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีภายใน 3 เดือนหลังจากนั้น

การแบ่งส่วนการปกครอง ประมุข หัวหน้ารัฐบาล - ประธานาธิบดีหัวหน้าฝ่ายบริหาร - นายกรัฐมนตรีนิติบัญญัติ - รัฐสภาประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาสูงหรือสภาสหพันธรัฐ (Federation Council) ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 178 คน จากเขตการปกครอง 89 เขต (รวมทั้งเขตกรุงมอสโก และนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) เขตละ 2 คน และสภาผู้แทนราษฎร หรือสภาดูมาซึ่งมีผู้แทนจำนวน 450 คน ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รัฐสภารัสเซียมีบทบาทและอำนาจค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบ กับอำนาจของประธานาธิบดี และสมาชิกรัฐสภาจะอยู่ในตำแหน่งวาระละ 4 ปี

ระบบตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลสูง ศาลสูงแห่งอนุญาโตตุลาการ และสำนักงานอัยการสูงสุดระบบพรรคการเมือง ระบบหลายพรรค ในการเลือกตั้งสภาดูมาปลายปี 2542 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดพรรคการเมืองใหม่ๆ ขึ้น ปัจจุบันพรรคการเมืองสำคัญได้แก่..พรรคคอมมิวนิสต์ พรรค Fatherland-All Russia พรรค Union of Right Forces พรรค Unity พรรค Yabloko กลุ่มขวาจัดของนาย Zhirinovskiy’ Bloc พรรค Our Home is Russia พรรค Women of Russia

ระบบการปกครองท้องถิ่น หน่วยปกครอง 89 แห่ง แบ่งออกเป็น 21 สาธารณรัฐ 6 มณฑล 49 จังหวัด สาธารณรัฐปกครองตนเอง 11 แห่งและ Federal City 2 แห่ง (มอสโกและเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก)


พิพิธภัณฑ์ ทางประวัติศาสตร์ ที่จตุรัสแดง
จตุรัสแดงข้าง พระราชวังเครมลิน
เรือรบ ออโรร่า ในเมือง เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
ประภาคารสีแดงสองต้น สีแดงที่เห็นเป็นสถานที่..ที่นักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปกัน
เรือดำน้ำ
เรือดำน้ำถือเป็นกำลังรบที่สำคัญอย่างหนึ่งของกองทัพเรือ เป็นอาวุธที่ใช้ในการป้องปรามศัตรูได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเรือดำน้ำมีความคล่องตัวในการเดินทางใต้ทะเล เป็นเวลานาน ยากต่อการจับการเคลื่อนไหว ต่างไปจากเรือผิวน้ำที่เป็นเป้าให้เห็นได้ง่ายกว่า เรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าในปัจจุบันถูกพัฒนาให้เงียบมากๆ ตรวจจับได้ยากขึ้น (จึงมีการเปรียบเทียบเรือดำน้ำ เป็น Silent Service) ดังที่เคยมีข่าวทางรัสเซียเคยออกมาบอกว่า ได้ส่งเรือดำน้ำเข้าไปในเขตน่านน้ำของสหรัฐอเมริกา โดยที่อเมริกาไม่รู้ตัวเลย แม้จะมีการป้องกันเต็มที่โดยปรกติอยู่แล้ว ดังนั้นหลายประเทศจึงต้องพัฒนาอาวุธต่อต้าน และตรวจจับเรือดำน้ำ
(ASW - Anti-submarine warfare) ให้มีศักยภาพสูงขึ้น เช่น ดิปปิ้ง โซน่า เพื่อรับมือกับเรือดำน้ำดังกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น